วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2559

ลงชุมชนครั้งที่ 7 ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย คุณสุธรรม จันทร์อ่อน


ลงชุมชนครั้งที่  7 ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย คุณสุธรรม จันทร์อ่อน

        ทำการปรับดินเพื่อทำการเกษตร








 วิธีการทำการปรับหน้าดิน

     1.  ใช้รถพรวนดินไถ่บนแปลงที่เตรียมไว้ปลูกผัก
   
     2.  ตากดินไว้ 1 วัน เพื่อให้วัชพืชตาย
   
     3.  วานเมล็ดลงในแปลงปลูก

     4.  รดน้ำและดูแล รอผลผลิต




ลงชุมชนครั้ง ที่ 6 ศูนย์การเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย

ลงชุมชนครั้งที่  6  ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย


   จัดอบรมที่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

                                              ในระหว่างวันที่  17 - 20  มีนาคม  2559











นักศึกษา มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าลาดกระบัง  เกษตรกรในชุมชนและบุคคลที่สนใจ เข้าร่วมในการอบรมครั้งนี้  ในหัวข้อเรื่อง ภูมิปัญญาจากการเกษตรของศูนย์การเรียนรู้ของคุณสุธรรม จันทร์อ่อน


โดยมีวิธีการจัดอบรมแบ่งด้วยการบรรยายและจัดกลุ่มลงฐานทดสอบปฏิบัติจริง

ในช่วงเช้าของวันที่  19  มีนาคม  2559

แบ่งออกเป็น 7 ฐาน

ฐานที่ 1   ฐานสมุนไพร

ฐานที่ 2   ฐานทำสบู่

ฐานที่ 3   ฐานทำน้ำฟักข้าว

ฐานที่ 4   ฐานทำก้อน  EM  บอลล์

ฐานที่ 5   ฐานอาหารไก่ - เลี้ยงไก่

ฐานที่ 6   ฐานน้ำยาเอนกประสงค์

ฐานที่ 7   ฐานสีข้าว


ช่วงบ่าย

ดูแปลงสวนเบญจาและสรุปบทเรียน



วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

ลงชุมชนครั้งที่ 5 ศูนย์การเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย

ประวัติของการทำเกษตรตั้งแต่เริ่มแรก โดยใช้หลัก Time Line อ้างอิง

เริ่มต้นการทำการเกษตรของคุณสุธรรม จันทร์อ่อน จากที่คุณสุธรรมได้เล่ามานั้น ตัวเค้าทำการเกษตรมาตั้งแต่เด็ก เพราะพ่อแม่ก็ทำเกษตรมาก่อน ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำการเกษตรของตัวคุณสุธรรมและครอบครัวจากการปลูกข้าวอย่างเดียวมาเป็นการทำเกษตรหลายอย่าง เช่น ปลูกอ้อย และเลี้ยงปลาด้วย
คุณสุธรรม  จันทร์อ่อนได้เริ่มทำการเกษตรแบบเต็มรูปแบบด้วยการที่ทางครอบครัวยกช่วงต่อให้แก่คุณสุธรรม จันทร์อ่อนในช่วง ปี 2516 ได้ทำการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ด้วยการปลูกข้าว  ปลูกอ้อย เลี้ยงปลา เป็นต้น การทำการเกษตรของคุณลุงก็เหมือนเกษตรกรทั่วไป  ได้ผลตอบแทนดี เพราะเป็นการทำเกษตรแบบเน้นผลผลิตเยอะๆ  ได้ผลตอบแทนที่ได้คือกำไร ยังไม่ดีพอเพราะ ได้กำไรมาต้องใช้จ่ายในครอบครัว ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ  และรายค่าของการทำเกษตรอีกทั้งค่า ปุ๋ยเคมี  ยาฆ่าแมลง และอื่นๆอีก  รวมๆแล้วคือแค่มีกินมีใช้จ่ายในครอบครัวแต่ไม่มีเงินเก็บออม
ต่อมาในปี 2521 ผลผลิตทางการเกษตรได้เกิดการปรับราคาสูงขึ้น  ต้นทุนก็สูงมากๆตามกันไปด้วยจึงทำให้คุณสุธรรมตัดสินใจเลิกปลูกอ้อย เพราะค่าปุ๋ย ฆ่าสารเคมีสูงขึ้นจึงทำให้ไม่มีผลกำไรและอาจจะขาดทุนด้วย  จึงหันมาทำการเกษตรด้วยการปลูกกล้วยกับการทำนาแทน เมื่อทำไปได้มานานก็ประสบปัญหาตามกันมาเลย คือ กล้วยราคาตกต่ำลงไม่พอกับค่าใช้จ่าย  นาข้าวก็ต้องทำแบบไว้กินก่อนเหลือแค่เพียงนิดหน่อยจึงนำไปขาย แต่ก็ยังไม่พอกับค่าใช้จ่ายในครอบครัว
ในปี 2525  คุณสุธรรมก็ได้เปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรไปเลยจากการปลูกพืช ผัก ผลไม้ เป็นการทำการเกษตรแบบประมง คือ การเลี้ยงกุ้งก้ามกาม  คือ พื้นที่ในส่วนที่ปลูกผักมาทำเป็นการเลี้ยงกุ้งทั้งหมด  ทำไมถึงหันมาเลี้ยงกุ้งหรอ เพราะว่าช่วงนี้ราคากุ้งสูงมาก จึงคิดว่าทำแบบนี้คือเอาทุนเก่าคืน ทุ่มสุดตัว และก็ได้ผลจริงๆ  การลงทุนทำกุ้งครั้งนี้คุณสุธรรมได้ผลกำไรตอบแทนที่ดีมาก เลี้ยงแรกๆอะไรก็ดีไปหมด เมื่อถึงปี 2530 ตอนต้นปี  เค้าได้ประสบปัญหาที่ใหญ่กว่าคือ กุ้งที่เลี้ยงเป็นโรค  จึงทำให้ได้กำไรในการขายกุ้งน้อยลง เพราะตัวเค้าเองไม่ได้มีความรู้เลยในด้านการเลี้ยงกุ้ง จึงทำให้เลิกเลี้ยงกุ้ง
แต่ก็ไม่คุณสุธรรมก็ไม่ถอดใจ จากบ่อกุ้งก็หันมาทำเป็นการเลี้ยงปลาแทน ในช่วงปลายปี  2530  ก็ปลาส่วนใหญ่ก็จะเป็นปลากินพืชที่ใช้เลี้ยง  แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะราคาของปลาก็ตกต่ำลงเรื่อยๆ เพราะเกษตรกรก็หันมาทำการเลี้ยงปลามากพอสมควรเหมือนเป็นการทำการเกษตรตามความต้องการของตลาด  แต่ตลาดก็ไม่สามารถรับของไว้ได้ หรือไม่ ก็กดราคาลงมาจากเดิมแรกๆที่เลี้ยง  จึงทำให้ต้องปล่อยให้เป็นบ่อป่าว โดยที่ไม่นำปลามาเลี้ยงต่อ แต่ลูกปลาที่ยังอยู่ก็ปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติ
ปี 2533 ได้ลองหันกลับมาทำการเกษตรปลูกผักอีกครั้ง จึงหันมาทำการเกษตรปลูกหน่อไม้ฝรั่ง  ทำผักปลอดสารพิษ  ผักกางมุ้ง แต่ให้ครอบครัวเป็นผู้ดูแลแทน และตัวคุณสุธรรมเองได้ไปทำงานที่บริษัทส่งออก ในตำแหน่งงานผู้จัดการฝ่ายไร่ ถึงแม่จะทำงานนอกบ้านด้วยแต่เค้าก็ไม่เคยลืมอาชีพเกษตรของเค้าเลยแถมการที่เค้าไปทำงานภายนอกเค้าก็ได้ศึกษาไปในตัวเกี่ยวกับการทำการเกษตร และที่สำคัญคุณสุธรรมจันทร์อ่อน ได้เป็นคณะกรรมการก่อตั้งกลุ่ม หน่อไม้ฝรั่ง เมื่อตั้งกลุ่มแล้วจึงทำให้เป็นที่หน้าสนใจของกลุ่มห้างร้าน และ โรงแรม  จึงทำให้ครอบครัวมีรายได้มากขึ้นพอเลี้ยงชีพครอบครัวได้
ต่อมาคุณสุธรรมได้ลดการปลูกหน่อไม้ฝรั่งลงแต่เพิ่มปริมาณในการปลูกผักมาขึ้นพร้อมกับการทำไร่นา  ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  หลักทฤษฎีใหม่  ตัวการแบ่งที่ดินออกเป็นส่วนๆ  ทำการปลูกผักกางมุ้ง  1 ส่วน  เลี้ยงวัวนม  1 ส่วน  ทำนาข้าว 1 ส่วน (นาข้าวจะมากกว่า)  เลี้ยงปลาอีก 1 ส่วนใหญ่   แต่การปลูกพืชผักก็ยังเป็นผลกระทบต่อครอบครัวของเค้า  ทำให้คนในครอบครัวเจ็บป่วยบ่อย และยังต้องลงทุนสูงอยู่เหมือนเดิม  และทางการตลอดก็ได้ตรวจเข้มในเรื่องการใช้สารเคมีมาก ทำให้มีสารเคมีตกค้างจากผลผลิตจึงทำให้อยากต่อการขาย แต่ในปี 2540 คุณสุธรรม ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งขว้าง และได้มีโอกาสไปเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์จากโครงการของทาง อบต.
ต่อมาในปี 2542 คุณสุธรรมได้นำความรู้จากการเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์มาใช้  โดยเริ่มทำโครงการปลูกผักปลอดสารพิษ เกษตรอินทรีย์ ปลูกผักหลายๆอย่างมาผสมผสานกัน เช่น การปลูกผัก  ทำเกษตรเลี้ยงปลา  เลี้ยงเป็ด  เลี้ยงไก่  และทำนาข้าว  แต่ก็ยังมีอุปสรรคในเรื่องการตลาด คือ การที่เราเริ่มทำเกษตรอินทรีย์ยังไม่เป็นที่ต้องการของตลาดมากสักเท่าไหร่  ในปี 2545 คุณสุธรรมได้เป็นผู้ใหญ่บ้าน  หมู่ที่10  ตำบลทุ่งขว้าง  อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม  และได้ไปศึกษาเรียนต่อที่ สาขาการพัฒนาชุมชน  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม  จบตามหลักสูตรในปี 2549
เมื่อจบปริญญาตรีแล้วคุณสุธรรมก็ได้เปลี่ยนการทำเกษตรจากเดิมที่ใช้สารเคมี มาเป็นการทำเกษตรอินทรีย์อย่างเต็มรูปแบบในช่วงปลายปี 2549  ด้วยการปลูกข้าวเอง ลงทุนไปซื้ออุปกรณ์ในการสีข้าว ทำกรสีข้าวเอง  ขายเป็นแบบข้าวก้องด้วย  ปลาที่เลี้ยงไว้ไม่ได้นำไปจำหน่ายแต่เลี้ยงไว้กินเอง  และปลูกต้นกล้วย ไม้ดอกไม้ประดับ แซมตามคันนา และตามทางที่ปลูกผักอินทรีย์   ทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น  ลดต้นทุน  และยังมีเงินเก็บออมในครอบครัว 
ในปี 2550 คุณสุธรรมได้เปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเป็นของครอบครัวเอง เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมมาอบรม  ศึกษาดูงานที่สวนไร่ของคุณสุธรรม
ปี 2552 ต่อยอดจากเดิมที่มีอยู่ของพื้นที่ที่เหลือมาปลูกผักเพิ่ม  ทำสวนกล้วย และปลูกผักแบบผสมผสานด้วย  จำหน่ายผลผลิตเองภายในศูนย์การเรียนรู้
ในปี 2553 คุณสุธรรมได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่น  สาขา บัญชีฟาร์ม  ในวันพืชมงคล  ได้รับจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์  สยามมกุฎราชกุมาร
ในปี 2555 จนถึงปัจจุบัน เป็นครูสอนพิเศษ ที่ มหาวิทยาลัยศิลปกร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์  ด้าน  อาหารเพื่อสุขภาพ  Food  For Help  และยังได้เขียนหลักสูตรวิชาเกษตรผสมผสาน  (มสธ)  คณะเกษตรและสหกรณ์
ในปี  2557 จนถึงปี 2559 สอนหลักเศรษฐกิจพอเพียง  และ  เกษตรอินทรีย์ที่ประเทศกัมพูชาอีกด้วย




สถานที่ที่ใช้นั่งสัมภาษณ์ 






สัมภาษณ์ขอข้อมูล เขียนตัวร่างทำ Time Line



ลงไปดูในพื้นที่ที่ทำการเกษตร สำรวจเพิ่มเดิมจากครั้งแรก


วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติศุนย์เรียนรู้ชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย

     เกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติศุนย์เรียนรู้ชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย  ลงชุมชนครั้งที่  4


     ข้อมูลเชิงพื้นที่ (ต่อ)

          พื้นที่ที่ทำการเกษตรอีก 10 ไร่ ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามโดยมีคลองกั้นแบ่งออกเป็น

  แปลงหญ้า (สำหรับเลี้ยงควาย)      1  ไร่
  ปลูกข้าว                                         3   ไร่
  บ่อน้ำใหญ่                                     1    ไร่
  บ่อน้ำรอง                                       2    งาน
  พื้นที่ทางเดิน                                 2    งาน
  พื้นที่ปลูก ไผ่ กล้วยและมะพร้าว    4    ไร่


ริมทางข้างบ่อน้ำปลูก ไผ่ กล้วย มะพร้าวและอื่นๆ รวม 4 ไร่


พื้นที่ตรงดินสำหรับปลูกข้าว  3 ไร่  ด้านหลัง(ที่เลี้ยงควาย)เป็นแปลงหญ้า  1  ไร่


บ่อน้ำใหญ่  1  ไร่


พื้นทางรวม 2 งาน  บ่อน้ำเล็ก 2 งาน



เกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติศูนย์เรียนรู้ชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย

      เกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติศูนย์เรียนรู้ชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย  ลงชุมชนครั้งที่  3

   ข้อมูลเชิงพื้นที่ (ต่อ)

 

เลี้ยงเป็ด เลี้ยงห่าน


เลี้ยงไก่


เลี้ยงเป็ด เลี้ยงห่าน เลี้ยงไก่ ใช่เนื้อที่ทั้งหมด 1 ไร่


ปลูกผักสลัด ตามไหล่ทางเดิน


ใต้ร่มดำ จะเป็นพริก มะเขือ และมีไม้ประดับปลูกแซมอยู่


ผักชี มะเขือเทศ กระเพรา คะน้า กวางตุ้ง


         และมีอีกส่วนหนึ่งที่อยู่ด้านในของสวนผักนี้ก็จะเป็นสวนกล้วย รวมแล้วทั้งหมดนี้ ใช้เนื่อที่ทั้งหมด 4 ไร่ ในการทำเกษตรผัก ผลไม้


      ทั้งหมดนี้จากการลงชุมชนครั้งที่ 2-3 โดยมีเนื้อที่ทั้งหมด 7 ไร่ ของศูนย์เรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย (ผู้ใหญ่สุธรรม  จันทร์อ่อน) แบ่งได้ชัดเจน เป็นที่อยู่อาศัย 1 ไร่  โรงรวบรวมผลผลิตและที่ว่างเปล่าไว้จอดรถรวมแล้ว 1 ไร่  เลี้ยงสัตว์ 1 ไร่  เกษตรผักและผลไม้รวมแล้ว 4 ไร่

เกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย

     
         เกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย        (ลงชุมชนครั้งที่ 2)


      ข้อมูลเชิงพื้นที่

                 มีพื้นที่ทั้งหมด 17 ไร่  แบ่งออกเป็น 2 พื้นที่    พื้นที่ที่ 1   มีจำนวน 7 ไร่     พื้นที่ที่ 2   มีจำนวน  10  ไร่  โดย 2 พื้นที่นี้แยกออกจากกันโดยมีคลองชลประทานกั้นดังภาพนี้

แผนผังของศูนย์การเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย (ผู้ใหญ่สุธรรม  จันทร์อ่อน)


   พื้นที่ที่  1  แบ่งเป็นการทำเกษตรแบบผสมผสานโดยนำหลักทฤษฏีใหม่มาประกอบด้วย ทำโดยการแบ่งที่ดินของตนเองออกเป็น 5 ส่วน จำนวน 7 ไร
 
   1. ที่อยู่อาศัย
   2. พื้นที่เลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ เป็ด ห่าน
   3. พื้นที่ปลูกผัก เช่น ผักชี ผักสลัด ผักกวางตุ่ง มะเขือ พริก และอื่นๆ
   4. พื้นที่ปลูกผลไม้และไม้ประดับ  เช่น กล้วย มะพร้าว ดอกดาวเรื่อง เป็นต้น
   5. โรงรวบรวมเก็บผลผลิต


   แบ่งเป็นสัดส่วนดังต่อไปนี้
   
     

พื้นที่บริเวณบ้าน (ฝั่งขวา)  จำนวนเนื้อที่ทั้งหมด 1 ไร่


        พื้นที่ที่อยู่อาศัยจัดทำเป็นสถานที่อบรมให้แก่ชาวบ้านหรือผู้ที่เข้าร่วมและสนใจด้วย สามารถจุคนได้ถึง 50 คน  ต่อหนึ่งครั้งที่อบรม จัดอบรมจะมีเดียวละ 3 วัน เท่ากับ 1 รอบอบรมมี 3 วันในหนึ่งเดือน และตอนนี้มีกำหนดการจัดอบรมให้ทั้งหมด 3 เดือน ณ ตอนนี้
        พื้นที่ที่จัดอบรมซึ่งอยู่ในเขตบ้านก็จะมีผลักสลัดที่ปลูกแล้วเป็นผลผลิตให้แก่ผู้ที่เข้าอบรมได้ดูดังภาพด้านบน


โรงเรือนรวบรวมผลิตที่ได้


            ไว้รวบรวมผลผลิตที่ได้จากการทำเกษตรผสมผสานปลอดสารพิษ เพื่อนำขายและส่งให้ผู้จำหน่ายต่อไป


ที่ดินที่ว่างเปล่า  


         ที่ดินว่างเปล่าใช้เป็นที่จอดรถในการทำเกษตร ที่จอดรถของผู้เข้าร่วมในการอบรมและปลูกต้นไผ่ไว้เป็นจุดๆเพื่อใช้เป็นที่หลบแดด


          โรงเรือนรวบรวมผลผลิตกับที่ดินเปล่ารวมกันเป็น 1 ไร่


วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

เกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติศูนย์เรียนรู้ชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย (ลงพื้นที่ครั้งที่ 1 )

ประวัติส่วนตัว
            นายสุธรรม  จันทร์อ่อน  อายุ  57  ปี  อาชีพ เกษตรกรรม  (แบบอินทรีย์) ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  
            ที่อยู่  54  หมู่ที่  10  ตำบลทุ่งขวาง  อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม  เบอร์โทร 081-3845352

            
สถานะภาพครอบครัว
             สมรสกับนาง ประยงค์  จันทร์อ่อน  มีบุตร-ธิดา  จำนวน 3 คน ชาย 2 หญิง 1

            
ด้านสังคม
-เป็นสมาชิก อบต. ปี พ..2540-2544
-เป็นผู้ใหญ่บ้าน ปี พ..2545-2550
-เป็นผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย
-เป็นปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดนครปฐม
-เป็นเกษตรกรดีเด่นระดับชาติ  สาขาบัญชีฟาร์มและภูมิปัญญาดีเด่นระดับประเทศของสำนักงาน กศน
-เป็นคณะกรรมการสถาศึกษา ก... อำเภอกำแพงแสน
-เป็นอาจารย์สอนพิเศษในมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มสธ.ศิลปากร  ม.ราชภัฎ  ม.เกษตรและสถาบันทางการศึกษาอีกหลายแห่งในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติ




ความเป็นมา

            ในปี 2504 (ในยุคผู้ใหญ่ลี) ผู้ใหญ่สุธรรมได้ประสบปัญหาในด้านครอบครัว/ชุมชน/สิ่งแวดล้อม โดยมีปัญหาด้านการเป็นหนี้สิน สุขภาพครอบครัวและคนในชุมชนไม่ดีและมีความเลี้ยงในการทำเกษตร  เนื่องจากคนในชุมชนนี้รวมถึงผู้ใหญ่สุธรรม ทำการเกษตรโดยใช้สารเคมีมาก่อน จากธรรมชาติ  สัตว์น้ำตามธรรมชาติ  อากาศของธรรมชาติในชุมชน สัตว์ที่อาศัยตามแหล่งน้ำ   อากาศที่เป็นมลพิษ  เมื่อผู้ใหญ่สุธรรมได้เริ่มหันมาทำตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  ในปี 2539 โดยใช้ธรรมชาติเป็นต้นทุน เช่น ดิน แดด ลม ฝน อากาศ เป็นต้นทุนในการทำเกษตร  การทำเกษตรของผู้ใหญ่สุธรรมเริ่มแรกทำเป็นเกษตรเชิงเดียว  รายได้ก็ยังไม่ดีมาก พอมาเรียนรู้หลังจากจบปริญญาจึงหันมาทำเกษตรแบบผสมผสานจนประสบผลความสำเร็จเป็นศูนย์การเรียนรู้  ปลดหนี้สุขภาพของครอบครัวและเผยแพร่ความรู้อันนี้ให้กับคนในชุมชนจนเป็นการตอบรับที่ดีขึ้น  ชุมชนที่มีรายได้  สุขภาพดี  เกษตรปลดหนี้ได้ชีวิตเป็นสุข 


                                         
ลงไปสำรวจพื้นที่ ตำแหน่งที่ตั้ง สนทนาหาข้อมูลเบื้องต้นของศูยน์การเรียนรู้




                                                       แปลงผักสลัดของศูยน์การเรียนรู้


สนทนาแบบชาวบ้าน คุยกันสอบถามความเป็นมาและความคิดก่อนจะมาเป็นศูยน์เรียนรู้

                                                                     

ป้ายปากซอยทางเข้าแหล่งเรียนรู้  ผู้ใหญ่สุธรรม